ขายของ online กับ CheckStockPRO
ลูกค้า: สวัสดีค่ะ อยากสั่งซื้อสินค้าค่ะ
แม่ค้ารุ่นเก่า: ได้ค่ะแบบไหนดีคะ
ลูกค้า: แบบที่โชว์บนเวป เสื้อแขนกุดสีดำมีมุกติดที่รอบคอตะเข็บแดงไซต์ M มีมั้ยคะราคาเท่าไร
แม่ค้ารุ่นเก่า: ตัวไหนหว่า (คิดในใจ)
แม่ค้ารุ่นเก่า: พอดีอยู่ข้างนอกค่ะ เดี๋ยวจะรีบเช็คให้แล้วตอบกลับนะคะ
แม่ค้ารุ่นเก่า: ….. ผ่านไม่สามวันลืมตอบ ไม่ได้ขาย
ลูกค้า: สวัสดีค่ะ อยากสั่งซื้อสินค้าค่ะ
แม่ค้ารุ่นใหม่: ได้ค่ะแบบไหนดีคะ
ลูกค้า: แบบที่โชว์บนเวป เสื้อแขนกุดสีดำมีมุกติดที่รอบคอตะเข็บแดงไซต์ M มีมั้ยคะราคาเท่าไร
แม่ค้ารุ่นใหม่: ขอรหัสสินค้า หรือ barcode ด้วยค่ะ
ลูกค้า: PX80125 ค่ะ
แม่ค้ารุ่นใหม่: (เปิด Check Stock PRO บนมือถือพร้อมดูรูปและราคาใน 5 วินาที)
มีของค่ะ ราคา 580บาท ต่อตัว
ลูกค้า: ยอดเยี่ยม เอา 1 ตัวค่ะ
Consignment stock คืออะไร Check Stock Pro ช่วยได้อย่างไร?
Consignment stock หรือการฝากขาย คือ การที่เจ้าของสินค้าส่งสินค้าไปยัง ผู้รับฝากขายเพื่อให้ช่วยทำหน้าที่ขายสินค้าแทน โดยที่ความเป็นเจ้าของของสินค้ายังเป็นของคนฝากขายอยู่จนกว่าสินค้านั้นๆ จะขายได้แล้วมีการออกเอกสารขาย เอกสารขายจะออกโดยผู้รับฝาก แต่จะมีการคิดค่าฝากขาย หรือค่านายหน้ากับผู้มาฝากขาย
ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นเรามีสินค้าเป็นเสื้อผ้าอยากจะขายผ่านห้างดังอย่าง Central เราก็นำของไปฝาก Central ขาย เราส่งของไปวางที่ห้าง 100ตัว ของ 100ตัวนี้ก็ยังเป็นของเราอยู่ จนวันหนึ่งมีลูกค้ามาซื้อของจาก Central ไป 1ตัว Central ก็ออกบิลไปให้ลูกค้า พอตอนนี้ของเราก็เหลือ 99ตัวแล้ว สมมติว่า Central คิดค่าฝากขายเป็นจำนวน 20% ของราคาขาย ถ้าเสื้อตัวนั้นราคา 1000บาท Central ก็จะคืนเงินให้เรา 800บาท ฟังดูเริ่มง่ายขึ้นมั้ยครับ? แต่ลองคิดดูถ้าเราฝากขายสัก 30ห้าง ขายได้วันละหลายร้อยแบบ หลายร้อยตัว คราวนี้สต็อกก็เริ่มจะมั่วแล้วครับถ้าไม่มีระบบจัดการที่ดี แล้วจะจัดการยังไงดี? ให้น้องๆพนักงานขายจดใส่กระดาษแล้วส่งมาที่ office ก็คงไม่สนุกแน่ๆในการรวบรวม ถ้าเปลี่ยนมาใช้ application Check Stock PRO ที่เป็น Cloud technology บนมือถือก็จะง่ายแล้วครับ พอขายของออกไป น้องๆพนักงานขายก็ตัดสต็อกเลยผ่าน application ทาง office ก็ดูได้ทันทีทุกสาขา สามารถแพลนงานได้ด้วยว่าจะส่งของไปเพิ่มที่สาขาไหน ตัวไหน จำนวนเท่าไร ลืมความวุ่นวายเก่าๆไปได้เลยครับ
ต้นทุนวัสดุคงคลัง
การจัดการสต๊อกที่ดี เราจะต้องรู้ว่าสินค้าที่เก็บอยู่ในสต๊อกนั้น มีต้นทุนเท่าไหร่ คุ้มกับการจัดเก็บหรือไม่ ซึ่งการคำนวณต้นทุนวัสดุคงคลังนั้น มีส่วนประกอบคร่าวๆดังต่อไปนี้
- ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้วัสดุหรือวัสดุหรือสินค้านั้นๆมา (Item Cost) ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ประกอบด้วย
- ราคาวัสดุหรือวัสดุหรือสินค้า
- ค่าขนส่ง
- ค่าประกัน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ค่าภาษีศุลกากร
- ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (Ordering Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุคงคลังที่ต้องการ ซึ่งจะแปรตามจำนวนครั้งของการสั่งซื้อ แต่ไม่แปรตามปริมาณวัสดุคงคลัง เพราะสั่งซื้อของมากเท่าใดก็ตามในแต่ละครั้ง ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อก็ยังคงที่ แต่ถ้ายิ่งสั่งซื้อบ่อยครั้งค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อจะยิ่งสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อได้แก่
- ค่าเอกสารใบสั่งซื้อ
- ค่าจ้างพนักงานจัดซื้อ
- ค่าโทรศัพท์
- ค่าขนส่งวัสดุหรือสินค้า
- ค่าใช้จ่ายในการตรวจรับของและเอกสาร
- ค่าธรรมเนียมการนาของออกจากศุลกากร
- ค่าใช้จ่ายในการชาระเงิน
- ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Carrying Cost) เป็นค่าใช้จ่ายจากการมีวัสดุคงคลังและการรักษาสภาพให้วัสดุคงคลังนั้นอยู่ในรูปที่ใช้งานได้ ซึ่งจะแปรตามปริมาณวัสดุคงคลังที่ถือไว้และระยะเวลาที่เก็บวัสดุคงคลังนั้นไว้ ได้แก่
- ต้นทุนเงินทุนที่จมอยู่กับวัสดุคงคลังซึ่งคือค่าดอกเบี้ยจ่ายถ้าเงินทุนนั้นมาจากการกู้ยืมหรือเป็นค่าเสียโอกาสถ้าเงินทุนนั้นเป็นส่วนของเจ้าของ
- ค่าคลังวัสดุหรือสินค้า
- ค่าไฟฟ้าเพื่อการรักษาอุณหภูมิ
- ค่าใช้จ่ายของวัสดุหรือวัสดุหรือสินค้าที่ชารุดเสียหายหรือหมดอายุเสื่อมสภาพจากการเก็บนานเกินไป
- ค่าภาษีและการประกันภัย
- ค่าจ้างยามและพนักงานประจำคลังวัสดุหรือสินค้า ฯลฯ
การกำหนดปริมาณเติมเต็มวัสดุหรือสินค้าคงคลัง
Lot-for-Lot
- สั่งเท่าที่ต้องการจะไม่มีการเหลือเก็บเนื่องจากสั่งเท่าที่ต้องการ
- ใช้สำหรับการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าที่ มีความต้องการที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent demand) หรือมีการผลิตแบบ Just-in-Time (JIT)
Fixed-Order Quantity
- สั่งซื้อเป็นปริมาณตายตัวทุกครั้งที่มีการสั่ง ซึ่งเร็วและง่าย แต่อาจจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
การสั่งด้วยปริมาณการสั่งที่ประหยัด (EOQ)
- เป็นระบบวัสดุคงคลังที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยจะใช้กับวัสดุคงคลังที่มีลักษณะของความต้องการที่เป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกับความต้องการของวัสดุคงคลังตัวอื่น (Independent Demand) จึงต้องวางแผนพิจารณาความต้องการและพยากรณ์อุปสงค์ของลูกค้าโดยตรง
- ระบบขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดจะพิจารณาต้นทุนรวมของวัสดุคงคลังที่ต่าสุดเป็นหลักเพื่อกาหนดระดับปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่เรียกว่า “ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด”
สนใจระบบเช้คสต๊อกที่ใช้ง่ายที่สุด ลองใช้ CheckstockPRO.com
Check Stock Pro เหมาะกับใครธุรกิจแบบไหน?
ทุกวันนี้โลกเราเหมือนจะแคบลงทุกวันครับ
สักหลายอาทิตย์ที่แล้วมีพี่ที่รู้จักกันดีที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ ได้เริ่มธุรกิจนำของเล่นเข้ามาขายในประเทศไทยโดยให้คนที่ประเทศไทยช่วยบริหาร ในขณะที่ตัวเองอยู่ต่างประเทศคอยสั่งซื้อ จัดหาของ การขายของในประเทศไทยก็มีหลายแบบครับ ขายขาด ขายฝาก (ใครเคยทำธุรกิจกับ Central หรือ The Mall คงรู้ดี)
ความวุ่นวายมันอยู่ตรงนี้แหละครับ มีสาขาเยอะ บางที่ที่ขายฝากก็ไม่รู้ของตัวเองมีอยู่เท่าไร ขายเป็นยังไง ของที่อยู่ที่โกดังก็ตรงบ้างไม่ตรงบ้าง …. แล้วจะซื้อของตัวไหนมาเติมอีกดี ? เช็คสต็อคโดย Excel file ไม่ตอบโจทย์แล้วครับ ยิ่งจดมือใส่กระดาษนี่เลิกพูดถึงเลย เพราะทุกอย่าง Manual ไม่ Real time อยู่ต่างประเทศนี่ถึงขั้นขาดการติดต่อได้ง่ายๆ เลยครับ
ดังนั้น Cloud Technology เลยเข้ามามีบทบาทตรงนี้มากครับ เพราะทำให้ทุกคนสามารถเห็นสิ่งเดียวกัน พร้อมกัน ทุกสาขา ทั้งโลก !! แค่มี internet ก็ใช้ได้แล้ว บวกกับ Check Stock Pro เป็น application บนมือถือ ใช้งานง่าย ทีนี้น้องๆ ที่เป็นเซลก็แค่เข้าไปที่สาขา เช็คสต็อคด้วย Check Stock Pro เจ้าของธุรกิจที่อยู่แดนไกลก็สามารถรู้สถานะได้ทันทีง่ายๆ
… เพราะโลกเราแคบลงทุกวันครับ
ความสำคัญของ ตารางสต๊อกสินค้า
ตารางสต๊อกสินค้า ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการจัดการข้อมูล stock สินค้าที่มีประสิทธิภาพ โดยตารางสต๊อกสินค้านั้นมีไว้เพื่อตรวจสอบว่าจำนวนสต๊อกสินค้าปัจจุบันที่เรามีอยู่นั้น มีเป็นจำนวนเท่าใด มีจำนวนเข้าออกเป็นจำนวนเท่าไหร่บ้าง ทำให้เราทราบถึงข้อมูลลักษณะความเคลื่อนไหวของสินค้า เพื่อนำไปวางแผนในการจัดการสต๊อกสินค้าในแต่ละรายการได้ ซึ่งตารางสต๊อกสินค้าที่ดีควรจะออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่าย มองเห็นได้อย่างชัดเจน และถูกต้องแม่นยำ
ประเภทของของสต๊อก
Cycle Stock:
เป็นวัตถุดิบ หรือสินค้าที่มีสต๊อกไว้เพื่อทดแทนวัตถุดิบที่ใช้ไปในการผลิต หรือสินค้าที่ขายไป ซึ่งสต๊อกประเภทนี้จะเก็บไว้เพื่อตอบสนองความต้องการ การผลิตหรือการขาย ซ่งอยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่าความต้องการวัตถุดิบ หรือสินค้าและเวลาในการสั่งคงที่และทราบล่วงหน้า
Safety or Buffer Stock:
เป็นวัตถุดิบ หรือสินค้าจำนวนหนึ่งที่เก็บไว้เกินจำนวนเก็บไว้ตามรอบปกติเนื่องจากความไม่แน่นอนในความต้องการ วัสดุคงคลังที่เก็บสำรองไว้ โดยปริมาณของ Safety stock จะมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นกับความไม่แน่นอนของปริมาณความต้องการ ถ้าปริมาณความต้องการวัตถุดิบ หรือสินค้าในแต่ละช่วงเวลาไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างแน่นอน อาจทา ต้องเก็บ Safety stock ในปริมาณมากขึ้น
In – transit Inventories:
เป็นวัตถุดิบ หรือสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งวัตถุดิบ หรือสินค้าเหล่านี้อาจจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสต๊อกที่เก็บไว้แม้ว่าวัสดุหรือสินค้าเหล่านี้จะยังไม่สามารถขายหรือใช้ได้ ดังนั้น ในการคำนวณต้นทุนในการเก็บรักษา ควรจะรวมต้นทุนของวัตถุดิบ หรือสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งไว้ด้วย
Dead Stock:
เป็นวัตถุดิบ หรือสินค้าที่เก็บไว้นานและยังไม่มีความต้องการใช้หรือขายเกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นเพราะความล้าสมัย เสื่อมสภาพ เราควรทำการพิจารณาว่าจะจัดการอย่างไรดี อาจจะทำลายทิ้ง หรือขายลดราคาก็ได้
บริหารสต๊อกสินค้าในแบบต่างๆ ด้วยโปรแกรมบริหารงานสต๊อกสินค้าออนไลน์ CheckstockPRO
การบริหาร จัดการสต๊อกสินค้า อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหาร จัดการสต๊อกสินค้า อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสามารถของธุรกิจ ในการบริหาร และ จัดการสต๊อกสินค้า ที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ธุรกิจนั้น มีความได้เปรียบคู่แข่งหลายๆ ประการ เช่น
- ลดขนาดการสั่งซื้อและการสั่งผลิตลง
- สำหรับสินค้าที่ทำการจัดซื้อ ให้ทำการสั่งสินค้าถี่ขึ้น นอกจากจะได้สินค้าใหม่แล้ว ยังช่วยลดสต๊อกสินค้าในคลังลงด้วย อีกทั้งให้ทำการบริหารต้นทุนการจัดซื้อ ให้ต่ำลง โดยใช้ คอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศ ในการสร้างคำสั่งซื้อ (Purchase Orders: PO) การใช้ระบบ (Electronic Data Interchange: EDI) ในการส่งผ่านข้อมูลราคาสั่งซื้อ (PO) การใช้ระบบแจ้งการขนส่งสินค้าล่วงหน้า (Advance Shipping Notices: ASNs) เพื่อทำการลดต้นทุนการจัดซื้อ ก็จะช่วยสามารถ ลดต้นทุนด้านการจัดซื้อ และการรับสินค้าลดลงได้ นอกจากนั้นยังจะ สามารถสั่งได้บ่อยขึ้น หรือสามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังโดยเฉลี่ยได้
- สำหรับสินค้าที่ทำการผลิตนั้น หากต้นทุนการติดตั้ง หรือการเปลี่ยนเครื่องมือ (Change over) มีค่าสูง ควรแก้ไขให้กิจกรรมนี้ให้มีเวลาที่สั้นลงจะสามารถลดสต๊อกสินค้าคงคลังได้ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้
- ลดต้นทุนการเก็บสต๊อกสินค้าคงคลัง (Lower inventory costs)
- เพิ่มการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ โดยการให้เช่าพื้นที่ที่มีอยู่ หรือ ลดการการขยายพื้นที่คลังสินค้า โดยใช้ เครื่องมือที่สามารถขนย้ายสินค้าในช่องแคบ การใช้ชั้นลอย หรือวิธีการเก็บสินค้าที่เหมาะสมมากขึ้น
- การตั้งระดับปริมาณสต๊อกสินค้าเผื่อขาดให้เหมาะสม
- วางแผนการประกอบ เมื่อเกิดความต้องการ และไม่ต้องการ
- ควรมีการทบทวนแผนการสั่งซื้อ และการผลิตตลอดเพื่อทำการสั่งเพิ่ม หรือยกเลิกสินค้าที่ไม่ต้องการ เพื่อให้สต๊อกสินค้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม
- สำหรับสินค้าที่เป็นชิ้นส่วน ที่สามารถนำไปผลิตสินค้าต่อเนื่อง ได้อีกหลายชนิด (Parent products) ควร จะทำการเก็บสินค้าคงคลัง ไว้ในรูปแบบของสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished product) เพื่อลดปริมาณสต๊อกสินค้า คงคลังทั้งหมด เนื่องจากสามารถลดปริมาณสินค้าคงคลัง ของทุกรายการแต่ละแบบได้
- วิเคราะห์ และคาดการความต้องการของลูกค้า อย่างสม่ำเสมอ
- ควรใช้ประสบการณ์ ควบคู่ไปกับสูตรการคำนวณความต้องการของลูกค้า เพื่อพยากรณ์ ยิ่งแม่นยำ ก็จะทำให้เราวางแผนการสั่งซื้อ และการผลิตได้ถูกต้อง เป็นผลให้ปริมาณสต๊อกสินค้าเป็นไปอย่างเหมาะสมด้วย
- เหตุการณ์บางเหตุการณ์ อาจจะทำให้เกิดความต้องการของสินค้าเพิ่มขึ้น ในเวลาอันรวดเร็ว เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเช่นนี้ทำให้เรา ต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่น ในการจัดการปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลังมาประกอบด้วย เช่น เทศกาลปีใหม่ที่ทำให้ความต้องการกระเช้าของขวัญมากขึ้นทำให้ต้องมีการวางแผนปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลังรองรับเหตุการณ์ดังกล่าว
- สร้างความร่วมมือระหว่างซัพพลายเออร์ในการสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะทำให้สามารถการจัดซื้อสินค้าแต่ละประเภทได้ในปริมาณที่น้อยลง และสั่งได้ถี่ขึ้น จัดการสต๊อกสินค้า ที่ดี จะทำให้การเก็บปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลังน้อยลง
- จัดส่งสินค้าต่อไปให้ลูกค้าเมื่อสินค้ามาถึง (Cross-dock customer shipments) สามารถลดความต้องการในการ เก็บสต๊อกสินค้าคงคลัง เนื่องจากสินค้าสามารถนาส่งต่อไปยังลูกค้าได้ทันที โดยไม่ต้องทำการจัดเก็บสินค้า
- การให้ซัพพลายเออร์เป็นผู้บริหารสินค้าคงคลัง (Vendor-Managed Inventory: VMI) การสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมให้ซัพพลายเออร์ เข้ามารับผิดชอบการบริหารสินค้าคงคลัง เนื่องจากซัพพลายเออร์สามารถทราบปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลัง และแผนการผลิตสินค้าของฝ่ายตนเอง และสามารถทราบความ ต้องการที่แท้จริงของสินค้าพร้อมกับปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลังของลูกค้า ส่งผลให้ต้นทุนสต๊อกสินค้าคงคลัง ลดลงทั้งฝ่ายซัพพลายเออร์และลูกค้า
- ลดระยะเวลาในการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการสั่งซื้อจากซัพพลายเออร์ หรือระยะเวลาในการขนส่งสินค้า หรือ ระยะเวลาในการรับสินค้า จะส่งผลให้ปริมาณความต้องการในการ เก็บสต๊อกสินค้าคงคลังลดลง นอกจากนี้การลดความไม่แน่นอนของระยะเวลาในการสั่งซื้อก็สามารถลดความต้องการ ของการเก็บสต๊อกสินค้าได้
- เคลื่อนย้ายสินค้าคงคลัง (Transshipment) เมื่อสินค้าคงคลังของสินค้าบางรายการ ณ คลังสินค้าแห่งหนึ่งมีมากเกินไป อย่างไรก็ตามได้มีความ ต้องการสินค้าประเภทเดียวกัน ณ คลังสินค้าอีกที่หนึ่ง ดังนั้นระบบในการเกลี่ยปริมาณสินค้าคงคลังจากที่หนึ่ง มาที่หนึ่งที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลดีต่อการบริหารสินค้าคงคลังได้ดี อย่างไรก็ตามต้นทุนในการเคลื่อนย้าย สินค้านี้ต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม
- การจัดสินค้า Dead Stock (สินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว) และสินค้า Slow Moving (สินค้าที่ถูกขายออกไปช้า) ซึ่งการจัดการลดกลุ่มสินค้าเหล่านี้เป็นการช่วยลดต้นทุนทั้งในคลังสินค้า (Warehousing) การจัดดำเนินการสินค้าในคลัง (Handling) การขนส่ง (Transportation) เช่น สินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวช้า ทำให้เปลืองพื้นที่จัดเก็บ และการดูแลสต๊อกสินค้าในคลัง
จัดการสต๊อกสินค้า อย่างมืออาชีพ ด้วยแอพพลิเคชั่น ที่รองรับการใช้งานพร้อมๆกันได้หลายสาขา โหลดฟรีที่นี่
ดาวน์โหลดฟรี โปรแกรมเช็คสต๊อกสินค้าได้แล้ววันนี้
ทันสมัยด้วยโปรแกรมเช็คสต๊อกโปร ดูยอดคงเหลือสินค้าคงคลังผ่านมือถือ
รองรับระบบคลาวด์สำหรับธุรกิจที่มีหลายสาขา
ออกรายงานสินค้าคงเหลือ และความเคลื่อนไหวสินค้าเข้าออกได้ทาง PC
ใช้ได้ทั้งเวอร์ชั่นแอนดรอยด์ และไอโฟน
และสำหรับ iPhone/iPad -> https://itunes.apple.com/us/app/checkstockpro/id1043786989?l=th&ls=1&mt=8
หันมาใช้ระบบบาร์โค้ดควบคุมสินค้าในสต๊อกกันเถอะ
ด้วยฟีเจอร์การเช็คสต๊อกที่ใช้ง่าย ทันสมัย และสามารถใช้กับบาร์โค้ดได้ ทำให้การจัดการสต๊อกสินค้าของคุณกลายเป็นเรื่องง่ายและสะดวกสบายที่สุด
สามารถถ่ายรูปหรืออัพโหลดรูปสินค้าจากแกลอรี่รูปภาพที่อยู่ในเครื่องได้
มีฟีเจอร์เตือนในกรณีที่ปริมาณสินค้าในโกดังต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้
สามารถอัพโหลดขึ้นคลาวด์เพื่อใช้ร่วมกันหลายๆเครื่องได้ (ในเวอร์ชั่น CheckstockPRO Cloud)
สแกนบาร์โค้ดเพื่อช่วยในการจัดการสต๊อกสินค้าคงคลัง
สามารถใช้งานกับบาร์โค้ดได้หลากหลายประเภททั้ง (EAN, UPC, CODE 39, CODE 128, and also 2 Dimensional QR Code)
นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการสต๊อกสินค้าได้หลากหลายประเภท
เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการทราบจำนวนสินค้าคงเหลืออย่างแม่นยำและรวดเร็ว
สามารถใช้งานได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยไม่จำเป็นจะต้องต่อกับ 3G หรือไวไฟเพื่อใช้งาน
แสดงสินค้าที่ขายดีที่สุดของคุณในแดชบอร์ด
แสดงสินค้าที่มีจำนวนคงเหลือเยอะที่สุด และเหลือน้อยที่สุดในโกดังของคุณ
ติดตามการเข้าออกของสินค้าได้ทุกรายการใน Activity Log
พร้อมคู่มือการใช้งานในตัวโปรแกรม
สามารถโปรโมทสินค้า โดยการแชร์รูปสินค้า รายละเอียดสินค้าไปที่เฟสบุ๊คได้
มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะไม่สูญหาย ถ้าโทรศัพท์มือถือมีปัญหา ด้วยการแบ๊คอัพข้อมูลเพื่อไปเก็บยังเซิฟเวอร์ระบบคลาวด์ด้วยเวอร์ชั่น CheckstockPRO Cloud
และอื่นๆอีกมากมาย…..